คู่มือการตั้งค่าฟังก์ชั่น Bandwidth Control และ Traffic Statistics สำหรับจำกัดความเร็วการใช้งาน และตรวจสอบ Traffic
Tenda Router Wireless Series
W309R+/ FH303+/FH303 / F3 / FH305 / N301 / N150
1. การประยุกต์ใช้และความหมาย
Router Wireless ของ Tenda มาพร้อมความสามารถในการจำกัดความเร็ว ( Bandwidth Control ) ผ่านเมนู Advanced Setting > QoS ที่สามารถจำกัดความเร็วของ เครื่อง Computer ได้แบบเครื่องเดียว ( Single IP ) และจำกัดแบบหลายเครื่อง ( ช่วง Range IP ) ว่าต้องการให้ IP Address ที่กำหนดไว้ ได้รับความเร็ว Download เท่าไหร่ หรือ Upload เท่าไหร่บ้าง
โดยหลักการทำงานของฟังก์ชั่น Bandwidth Control ก็คือ เป็นการบีบความเร็ว หรือ จำกัดความเร็วของ IP Address หรือกลุ่ม IP Address เหล่านั้น ไม่ให้ใช้ความเร็วเกินที่กำหนด ไม่ใช่ลักษณะการจับจองความเร็วครับ เหมาะสำหรับการควบคุมการใช้งาน Bandwidth ของเครื่อง Computer ในบ้าน หรือในบริษัทขนาดเล็ก ให้ใช้ Bandwidth ได้เท่าเทียมกัน หรือตามลำดับความสำคัญ ไม่ให้เครื่องใดเครื่องหนึ่ง ใช้ความเร็ว Internet มากเกินไปครับ
ในส่วนของฟังก์ชั่น Traffic Statistics ก็ใช้สำหรับตรวจสอบ พฤติกรรมการใช้ Bandwidth ของ เครื่อง Computer แต่ละเครื่อง
2. ความหมายของแต่ละ ITEMS ในเมนู Traffic Statistics
เมนู Traffic Statistics จะแสดง IP Address ของเครื่องที่กำลังใช้งาน Internet อยู่แบบ Real Time ครับ โดยอาจจะมีบางเครื่องที่เชื่อมต่อ Internet อยู่ แต่ไม่ได้เปิดใช้งานอะไร ก็อาจจะไม่มีรายชื่อแสดงใน List แต่ถ้ามี ข้อมูลส่งออก หรือรับจาก Internet แม้เล็กน้อย ก็จะมีรายชื่อขึ้นมาแสดงให้ทราบทันทีครับ
NOTE : ในตารางจะแสดงหน่วยเป็น กิโลไบต์ ถ้าต้องการแปลงหน่วย กิโลไบต์ ( KB ) เป็น กิโลบิต ( Kb ) ให้คูณด้วย 8 ครับ เช่น 50 KByte = 50*8 ประมาณ 400 Kbit เป็นต้น
Enable
- เลือก Enable เพื่อเปิดฟังก์ชั่น Bandwidth Control
- เอาเครื่องหมายถูก เพื่อปิดฟังก์ชั่น Bandwidth Control
IP Address (192.168.0.xxx)
- แสดง IP Address ที่กำลังใช้งาน Internet อยู่ โดยจะเรียงลำดับจาก IP Address เริ่มต้นต่อไปเรื่อย ๆ ครับ
Uplink Rate (KByte/s)
- แสดงความเร็ว Upload ของ IP Address นั้น ๆ หน่วยเป็น KByte (ค่ายิ่งมาก ก็แปลว่ากำลัง Upload ข้อมูลด้วยความเร็วสูง)
Downlink Rate (KByte/s)
- แสดงความเร็ว Download ของ IP Address นั้น ๆ หน่วยเป็น KByte (ค่ายิ่งมาก ก็แปลว่ากำลัง Downlload ข้อมูลด้วยความเร็วสูง)
Sent Message
- แสดงจำนวน Packet ของ IP Address นั้น ๆ ที่ถูก Upload ส่งออกไป
Sent Bytes (MByte)
- แสดงปริมาณข้อมูลของ IP Address นั้น ๆ ที่ได้ส่งออกไปทั้งหมด (ค่ายิ่งมาก ก็แปลว่า มีการ Upload ข้อมูลในปริมาณมาก)
Received Message
- แสดงจำนวน Packet ของ IP Address นั้น ๆ ที่ถูก Download รับเข้ามา
Received Bytes (MByte)
- แสดงปริมาณข้อมูลของ IP Address นั้น ๆ ที่ได้รับเข้ามาทั้งหมด (ค่ายิ่งมาก ก็แปลว่า มีการ Download ข้อมูลในปริมาณมาก)
OK
- กด OK เพื่อยืนยันการตั้งเงื่อนไข
Cancel
- กด Cancel เพื่อยกเลิกการตั้งค่า
2.1. ตัวอย่างการตรวจสอบการใช้งาน Bandwidth ของเครื่อง Clients
ตัวอย่างการใช้งาน Upload เยอะผิดปรกติ โดยสังเกตที่ช่อง Uplink Rate ครับว่ามีค่าตัวเลขที่สูงกว่า IP Address อื่นหรือไม่ ในรูปตัวอย่างเครื่อง IP Address = 192.168.0.101 กำลังใช้ Bandwidth Upload ถึง 5Mbps เป็นต้น
ตัวอย่างการใช้งาน Download เยอะผิดปรกติ การดูก็เหมือนกับ Uplink ครับ สังเกตที่ช่อง Downlink Rate ครับ ว่ามีค่าตัวเลขที่สูงกว่า IP Address อื่นหรือไม่ ในรูปตัวอย่างเครื่อง IP 192.168.0.101 กำลังใช้ Bandwidth Download ประมาณ 19Mbps ครับ
สำหรับ Sent กับ Received Message นั้น จะไม่ได้แสดงการใช้ Bandwidth ตรง ๆ แต่จะเป็นแสดงจำนวนของ Packet ที่รับและส่งออก โดยอาจจะไม่ได้ Download หรือ Upload ข้อมูลปริมาณมาก ซึ่งมักจะเป็นโปรแกรมจำพวก Chat หรือ VoIP เป็นต้น
3. ค้นหาหมายเลข IP Address เพื่อนำไปสร้างเงื่อนไข
สืบเนื่องจาก การจำกัด Bandwidth จำเป็นต้องกำหนด IP Address หรือช่วงของ IP Address ของเครื่องที่ต้องการ ดังนั้น ผู้ใช้จำเป็นต้นทราบว่า เครื่อง Computer หรืออุปกรณ์ Network ได้รับ IP Address อะไรอยู่ โดยสามารถค้นหา IP Address ได้ตามนี้ครับ
3.1. ค้นหา IP Address ของ Client จากเมนู DHCP
คลิกที่เมนูหลัก Advanced > ต่อด้วยเมนูย่อย DHCP Client List เพื่อตรวจสอบว่า Clients เครื่องไหน ได้รับหมายเลข IP Address อะไรครับ โดยตัว Router จะทำการดึงค่า ชื่อเครื่อง และ MAC Address กับ IP Address มาแสดงให้ทราบ ตรงนี้ ถ้าผู้ใช้เช็ค Hostname แล้วรู้ว่าเป็นชื่อของเครื่องไหน ก็สามารถที่จะจดเอา IP Address เพื่อนำไปใช้กับการตั้งค่าจำกัด Bandwidth ได้
3.2. ค้นหาจากเมนู Traffic Statistics
ตรวจสอบ IP Address จากเมนู Traffic Statistics ซึ่งอาจจะไม่รู้ชื่อเครื่อง แต่สามารถเลือก IP Address ที่ใช้ Bandwidth เยอะกว่าเครื่องอื่น เอาไปสร้างเงื่อนไขจำกัด Bandwidth ก็ได้ครับ
3.3. ตั้งค่าให้ Clients ได้รับหมายเลข IP Address แบบถาวรด้วย Static DHCP
เนื่องจาก IP Address ที่แต่ละเครื่องได้รับนั้น ได้รับ IP Address แบบ DHCP ซึ่งจะมีระยะเวลาของหมายเลข IP Address อยู่ ว่าจะมีหมดอายุเมื่อไหร่ คือ ไม่ได้รับถาวร ทำให้พอผ่านไปหลาย ๆ วัน อาจจะกลายเป็นว่า เครื่อง Clients เครื่องนั้น ๆ ได้รับหมายเลข IP Address ใหม่ ไม่ใช่ IP Address ทำให้ ค่าที่ตั้งใน Bandwidth Control ก็ไม่สามารถจำกัดความเร็ว IP Address ได้
การตั้งค่าให้ Clients ได้รับหมายเลข IP Address เดิมแบบถาวร นั้น จะมีด้วยกัน 2 วิธี คือ โดยวิธีแรก คือการตั้งค่าให้ Router เป็นตัว กำหนด IP Address ให้ Clients แบบถาวร ซึ่งจะสามารถจัดการจาก Router ได้เลย ไม่ต้องไปทำอะไรที่เครื่อง Client แต่ละเครื่อง ดังนี้
คลิกที่ เมนูหลักด้านซ้าย DHCP Client List เพื่อเข้าสู่หน้าการตั้งค่า Static Assignment โดยหลังจากเข้ามาแล้ว ให้เช็คหมายเลข IP Address และ MAC ของเครื่องที่ต้องการจำกัด Bandwidth แล้วกรอกตรงค่าด้านบน เสร็จแล้วกดปุ่ม Add แล้วกดปุ่ม OK อีกครั้ง ดังรูป
3.4. ตั้งค่าให้ Clients ได้รับหมายเลข IP Address แบบถาวรด้วยการ Fix IP ที่เครื่องโดยตรง
แบบที่ 2 เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่สามารถ Fix IP Address ได้เองครับ เป็นทางเลือกในการ Fix IP แต่อาจจะไม่เหมาะสำหรับการใช้งานแบบ Wireless ไร้สายที่ต้องย้ายที่ใช้งานไปเรื่อย ๆ เช่น Notebook, มือถือ หรือ Tablet โดยแบบนี้เหมาะสำหรับเครื่องที่ไม่ค่อยได้ย้ายจุด
NOTE : รูปตัวอย่าง แสดงการ Fix IP Address สำหรับ Windows 7 และ 8
3.5. ค้นหา IP Address จากเครื่อง Client โดยตรง
ในกรณีที่ดูข้อมูลเครื่อง Clients แต่ละเครื่องในเมนู DHCP แล้ว เกิดว่า ไม่มี IP Address หรือรายละเอียดของเครื่อง นั้น ๆ แสดงขึ้นมา ก็อาจจะเป็นไปได้ว่า เครื่องนั้น มีการ Fix IP Address ไว้ ทำให้ Router ไม่สามารถดึงมาแสดงในหมวด IP Auto ได้ เบื้องต้นให้ผู้ใช้ เช็ค IP Address ของเครื่อง Computer โดยตรง ครับ
NOTE : รูปตัวอย่าง แสดงการเช็ค Details ของ IP Address สำหรับ Windows 7 และ 8
4. ความหมายของแต่ละ ITEMS ในฟังก์ชั่น Bandwidth Control
1- Enable
- เลือก Enable เพื่อเปิดฟังก์ชั่น Bandwidth Control
- เอาเครื่องหมายถูก เพื่อปิดฟังก์ชั่น Bandwidth Control
2- IP Address (192.168.0.xxx - xxx)
- กำหนด IP Address ของเครื่อง Computer ที่ต้องการจำกัด Bandwidth เช่น ถ้าจำกัด 1 เครื่องก็กรอกทั้ง 2 ช่องให้เหมือนกัน ถ้าจำกัดหลายเครื่องก็กรอกช่องแรกเป็น IP ตั้งต้น และ IP สิ้นสุดครับ
3- Upload/Download
- Upload เลือกเพื่อตั้งค่าจำกัดความเร็ว Upload หรือ Upstream
- Download เลือกเพื่อตั้งค่าจำกัดความเร็ว Download หรือ Downstream
4- Bandwidth Range (KByte/s)
- กรอกความเร็วที่ต้องการจำกัด ซึ่งต้องแปลงหน่วยเป็น Kilo Byte คือ ให้เอาความเร็วที่ต้องการ x 1024 แล้วหารด้วย 8 ครับ เช่น ถ้าต้องการจำกัดความเร็ว 2M** ก็คูณ 1024 = 2048 หาร 8 = 256 KB สามารถตั้งให้จำกัดเป็นช่วงความเร็วตํ่าสุด กับ สูงสุด ได้ด้วย เช่น ความเร็วตํ่าสุด 128 – 256 เป็นต้น (ถ้าหน่วยเป็น เมกะบิตให้คูณ 1024 แต่ถ้าเป็น กิโลบิต ไม่ต้องคูณ)
5- Enable
- เลือก Enable เพื่อเปิดการใช้งานเงื่อนไขดังกล่าว
6- Add to List
- เป็นตารางแสดงเงื่อนไขที่กรอกเข้าไป ให้แสดงใน Table List ( 7 ) โดยจะเรียงลำดับมาเรื่อย ๆ ซึ่งสามารถ Edit แก้ไขค่าในภายหลังได้ และสามารถลบเงื่อนไขด้วยการเลือกช่อง Delete
8- Apply
- กด Apply เพื่อยืนยันการตั้งเงื่อนไข
9- Cancel
- กด Cancel เพื่อยกเลิกการตั้งค่า
5. ตัวอย่างและวิธีการตั้งค่าจำกัด Bandwidth Control
Bandwidth Control ถือเป็นฟังก์ชั่น ที่ออกแบบมาสำหรับใช้กับ User ปัจจุบัน ที่มีพฤติกรรมการใช้งาน Internet ที่เน้นการใช้งาน แบบ Favor Bandwidth เป็นหลัก คือ ยิ่งความเร็วของ Internet ยิ่งสูงเท่าไหร่ ก็ยิ่งหาวิธีการหรือโปรแกรมที่ดึงความเร็วให้ได้เต็มที่ตามไปด้วย ซึ่งถ้าไม่ควบคุมการใช้งาน ก็อาจจะทำให้มีผลกระทบกับผู้ใช้งานคนอื่น ๆ ที่ไม่ได้เน้นการใช้ Bandwidth รวมทั้งอาจจะทำให้การรับส่งข้อมูลเป็นไปอย่างล่าช้า กระทบกับงานนั้น ๆ อีกด้วย
จากตัวอย่าง Diagram รูปด้านบน มี Computer PC กับ Notebook 2 เครื่องในระบบ มีการใช้งานกับ ADSL Modem Router ที่ไม่มีฟังก์ชั่นจำกัด Bandwidth โดยความเร็วของ Internet ที่ขอมาคือ 10Mbps / 512Kbps ซึ่งการใช้งานของแต่ละเครื่องจะแตกต่างกัน โดยมีทั้งการโหลด Bittorrent, เปิด Youtube และเปิด Website ทั่ว ๆ ไป เป็นต้น
ปัญหาที่เกิดขึ้น :
เวลาเครื่อง Computer PC มีการดาวน์โหลด Bittorrent ทำให้เครื่อง Notebook ทั้ง 2 เครื่องไม่สามารถใช้งาน Internet ที่ต้องการได้เลย หรือถ้าใช้งานได้ก็แทบจะเปิดอะไรไม่ขึ้นเลย จึงจำเป็นต้องมีการจัดสรร Bandwidth ให้พอเหมาะ
วิธีการจัดสรร Bandwidth ด้วย Bandwidth Control :
1. จำกัดความเร็วการใช้งานให้กับเครื่อง Computer PC ที่ใช้โปรแกรม uTorrent สำหรับโหลดบิต โดยจำกัดความเร็ว Download ที่ 5Mbps และความเร็ว Upload ที่ 256Kbps ครับ
2.แชร์ความเร็ว Download และ Upload ที่เหลือ คือ 5Mbps กับ 256Kbps ให้กับ เครื่อง Notebook เครื่องแรก ( IP Address = 192.168.0.103 ) และเครื่อง Notebook เครื่องที่สอง ( IP Address = 192.168.0.102 ) ใช้ความเร็วร่วมกัน
NOTE : แปลงความเร็วให้หน่วยจาก บิต เป็น ไบต์ = 5x1024/8 = 640 และ 256/8 = 32 ( 640 กับ 32 เป็นตัวเลขที่จะนำไปใช้ในเงื่อนไข )
เนื่องจากหน่วย 5Mbps เป็น เมกะไบต์ จำเป็นต้องคูณ 1024 ครับ ส่วน 256Kbps หน่วยเป็น กิโลบิต จึงไม่จำเป็นต้องคูณ 1024
5.1. ตัวอย่างการตั้งค่าจำกัดความเร็ว Download และ Upload สำหรับ Single IP
เงื่อนไขแรกที่ตั้งค่าคือ สร้างเงื่อนไข IP Address 192.168.0.101 ให้จำกัดความเร็ว Download ที่ 640 Kbyte ดังรูป
เงื่อนไขที่สอง เป็นการสร้างเงื่อนไขให้ IP Address 192.168.0.101 เดิม สามารถใช้งาน Upload ได้ที่ความเร็ว 32 Kbyte ดังรูป
NOTE : สำหรับเงื่อนไขที่สร้างขึ้นมานั้น สามารถสร้างไว้ก่อนก็ได้ โดยยังไม่ต้องเลือก Enable เงื่อนไขครับ ถ้าครั้งต่อไปต้องการให้เงื่อนไขทำงานก็เข้ามา Edit แล้ว Enable เงื่อนไขภายหลังได้
5.2. ตัวอย่างการตั้งค่าจำกัดความเร็ว Download และ Upload สำหรับ Range IP
สร้างเงื่อนไขที่สาม คือ เงื่อนไข IP Address 192.168.0.102 – 192.168.0.103 ให้จำกัดความเร็ว Download ที่ 640 Kbyte โดยตั้งค่าให้เหมือนกันกับเงื่อนไข ข้อ 5.1 ครับ เพียงแต่ในช่อง IP Address ก็กรอก IP ให้อยู่ในช่วง IP Address ที่ต้องการ ดังรูป
สร้างเงื่อนไขที่สี่ คือ เงื่อนไข จำกัดความเร็ว ช่วงของ IP Address 192.168.0.102 – 192.168.0.103 ให้จำกัดความเร็ว Upload อยู่ที่ 32 Kbyte ดังรูปตัวอย่าง
NOTE : การจำกัด Bandwidth ของเครื่อง Clients นั้น แทบจะเซตไม่ต่างกันมากครับ ยกเว้นค่า IP Address และความเร็วที่ต้องการจำกัด
5.3. กรณีต้องการแก้ไข เงื่อนไข เพื่อเปลี่ยนค่าความเร็ว Download และ Upload
ในกรณีที่ต้องการปรับเปลี่ยนค่าในเงื่อนไขแต่ละเงื่อนไข สามารถทำได้ด้วยการกดปุ่ม Edit ของเงื่อนไขนั้น ๆ แล้วปรับแก้เงื่อนไขตามต้องการ เสร็จแล้ว กดปุ่ม Update to List แล้วกดปุ่ม OK ครับ ตามตัวอย่าง
การลบเงื่อนไขที่ไม่ต้องการออกจาก List ก็ทำได้ ด้วยการกดปุ่ม Delete ของบรรทัดนั้น ๆ แล้วกดปุ่ม OK ครับ
**************** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่เบอร์ 02-3123641 – 6 ( 6 คู่สายอัตโนมัติ ), 086-3697855 *****************